ระเบียบและกฏหมาย
พระราชบัญญัต
เอกสารประเมินบุคคล
รายงานประจำป
คู่มือต่างๆ
แบบฟอร์มต่างๆ
Link Web ที่น่าสนใจ
กรุงเทพมหานคร
หนังสือเวียนกรุงเทพมหานคร
กระทรวงสาธารณสุข
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
สำนักงานประกันสังคม
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร
แพทยสภา
สภาการพยาบาล
WHO Thailand
การรับฟังความคิดเห็นของประชาชน
กรมบัญชีกลาง
ไทยฮอตไลน์
มูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย
Bangkok GIS
 
เคล็ดลับกำจัด..กลิ่นปาก

เรื่อง “กลิ่น” โดยเฉพาะกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ ไม่ว่าเกิดที่ไหนย่อมไม่ดีแน่ เดี๋ยวใครต่อใครจะพาลเข้าใจผิด คิดว่าเราเป็นพวกหมักหมม ชอบบ่มเพาะความสกปรกไว้กับตัว อย่ากระนั้นเลย เรามารู้ถึงสาเหตุจากภายในช่องปากกันก่อน

กลิ่นเหม็นจากปาก … เกิดขึ้นได้คล้ายๆ กับกลิ่นเหม็นที่เกิดจากส่วนอื่นๆ ของร่างกาย ซึ่งเป็นผลมาจากแบคทีเรียในช่องปากทำให้เกิดการเน่า มีกลิ่นเหม็นเกิดขึ้น เราสามารถแยกกลิ่นเหม็นออกได้ 4 แบบ คือ กลิ่นที่มาจากด้านหลังของลิ้น กลิ่นของโรคปริทันต์และซอกเหงือก กลิ่นจากฟัน และกลิ่นจากการสูบบุหรี่

บริเวณที่จะพบกลิ่นปากบ่อยๆ คือ ที่ลิ้น ร่องเหงือก บริเวณที่อุดฟัน ครอบฟัน โรคปริทันต์ ฟันที่ผุรูกว้าง ฟันปลอมชนิดถอดได้ที่มีเศษอาหารตกค้าง การหลั่งของน้ำลายมากหรือน้อย และในคนสูบบุหรี่ นอกจากนั้นโรคที่เกิดภายในช่องปากและนอกช่องปาก  เช่น  ไซนัสอักเสบ โรคมะเร็งที่โพรงจมูก โรคทอนซิลอักเสบ โรคปอดเรื้อรัง วัณโรคปอด หรือมะเร็งปอด โรคเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร โรคของระบบขับถ่าย ล้วนแล้วแต่เป็นสาเหตุของกลิ่นปากได้ทั้งสิ้น 

วิธีการทดสอบง่ายๆ ว่าเรามีกลิ่นปากหรือไม่…
โดยทั่วไปใช้วิธีการเอามือปิดปากและจมูก เป่าลมแรงๆ ออกจากปาก และดม ซึ่งบางคนก็สามารถบอกได้ว่ามีกลิ่นปากหรือไม่หรือจะใช้วิธีเลียที่ข้อมือและดมดู ในบางคนอาจจะใช้นิ้วมือถูที่บริเวณเหงือก แล้วนำมาดมกลิ่นว่าเหม็นหรือไม่ และอีกวิธีคือ ขอร้องให้คนใกล้ชิดช่วยบอกก็ได้

เคล็ดลับพิชิตกลิ่นปาก

  • อย่าปล่อยให้ปากแห้ง เพราะเมื่อปากแห้งความเข้มข้นของแบคทีเรียในปากจะเพิ่มมาก ทำให้เกิดกลิ่นปากได้ง่าย
  • พยายามดื่มน้ำมากๆ เพราะจะช่วยล้างแบคทีเรียออกจากน้ำลาย
  • แปรงฟันทุกครั้งหลังมื้ออาหาร และอย่าลืมแปรงด้านบนของลิ้น อันเป็นที่เกิดของแบคทีเรียด้วย
  • ถ้าไม่สะดวกจะแปรงฟัน ให้บ้วนปากด้วยน้ำเปล่าหรือน้ำยาบ้วนปาก และใช้ไหมขัดฟันวันละ 2-3 ครั้ง
  • ถ้าเลือกขจัดกลิ่นปากด้วยการเคี้ยวหมากฝรั่ง ควรเลือกชนิดหมากฝรั่งที่ไม่มีน้ำตาล
  • งดอาหารกลิ่นแรง เช่น กระเทียม,หอมใหญ่,พริกไทย และชีส
  • หลีกเลี่ยงการดื่มกาแฟ หรือเครื่องดื่มอื่นๆที่ทำให้เกิดกลิ่นปาก
  • กินอาหารให้ครบหมู่ แม้ว่าคุณจะกำลังลดความอ้วนอยู่ก็ตาม
  • การเคี้ยวใบผักชีฝรั่งหรือกานพลูหลังมื้ออาหาร ช่วยลดกลิ่นปากได้
  • เลิกสูบบุหรี่ เพราะการสูบบุหรี่นอกจากจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพทั่วไปแล้ว ยังเป็นปัจจัยเสริมให้เป็นโรคปริทันต์รุนแรงมากขึ้นด้วย กลิ่นของบุหรี่ที่ตกค้างอยู่ในช่องปากผสมกับกลิ่นอื่นๆ ทำให้เกิดกลิ่นเหม็นเฉพาะขึ้นได้
  • ควรพบทันตแพทย์ เพื่อตรวจสุขภาพฟันอย่างสม่ำเสมอ ไม่ต้องรอจนเกิดปัญหาปากและฟัน
Credits : teenee.com

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


Produce by Medical Service Department

สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร เลขที่ 514          ถนนหลวง เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ 10100          โทร. 0-2224-2954 , 0-2224-9711 , 0-2221-6020 , 0-2225-4966          โทรสาร 0-2226-1931 , 0-2221-6029

ติดต่อ Webmaster : webmaster@msdbangkok.go.th